วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เน็ตเวิร์ก


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้
ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ เครือข่าย (network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ เครือข่ายภายใน หรือ แลน เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน : เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน เป็นเครือข่ายไร้สายความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้ การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศเครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้" เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ ที่คุณผู้อ่านจะได้พบต่อไปนี้ เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิม์คนละประเภท) 2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์ก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ1.ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ2. ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก3. ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)ประเภทของระบบเครือข่ายเป็นระบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนระบบเครือข่ายมีฐานเท่าเทียมกัน คือทุกเครื่องสามารถจะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนเองได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบดิสทริบิวท์โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลที่เป้นความลับจะถูกส่งออกไปสู่คอมพิวเตอร์อื่นเช่นกันโปรแกรมที่ทำงานแบบ เป็นระบบการทำงานแบบ หรือการประมวลผลแบบกระจาย โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องไคลเอ็นต์ แทนที่แอพพลิเคชั่นจะทำงานอย ู่เฉพาะบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็แบ่งการคำนวณของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น มาทำงานบนเครื่องไคลเอ็นต์ด้วย และเมื่อใดที่เครื่องไคลเอ็นต์ต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการเรียกใช้ไปยัง เครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้นำเฉพาะข้อมูลบางส่วนเท่านั้นส่งกลับ มาให้เครื่องไคลเอ็นต์เพื่อทำการคำนวณข้อมูลนั้นต่อไปรูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย LAN Topologyระบบ Bus การเชื่อมต่อแบบบัสจะมีสายหลัก 1 เส้น เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อสายเคเบิ้ลหลักเส้นนี้ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกมองเป็น Node เมื่อเครื่องไคลเอ็นต์เครื่องที่หนึ่ง ต้องการส่งข้อมูลให้กับเครื่องที่สอง จะต้องส่งข้อมูล และแอดเดรสของ ลงไปบนบัสสายเคเบิ้ลนี้ เมื่อเครื่องที่ ได้รับข้อมูลแล้วจะนำข้อมูล ไปทำงานต่อทันทีแบบ Ring การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ระบบ Ring มีการใช้งานบนเครื่องตระกูล กันมาก เป็นเครื่องข่าย Token Ring ซึ่งจะใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมินิหรือเมนเฟรมของ IBM กับเครื่องลูกข่ายบนระบบแบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์ เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ (Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า แบบ เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ นี้จะมีโครงสร้างแบบ ที่มีลำดับชั้นในการทำงานเครือข่ายแบบไร้สายอีกเครือข่ายที่ใช้เป็นระบบแลน ที่ไม่ได้ใช้สายเคเบิลในการเชื่อมต่อ นั่นคือระบบเครือข่ายแบบไร้สาย ทำงานโดยอาศัยคลื่นวิทยุ ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์ในเรื่องของการไม่ต้องใช้สายเคเบิล เหมาะกับการใช้งานที่ไม่สะดวกในการใช้สายเคเบิล โดยไม่ต้องเจาะผนังหรือเพดานเพื่อวางสาย เพราะคลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางอย่าง กำแพง หรือพนังห้องได้ดี แต่ก็ต้องอยู่ในระยะทำการ หากเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปไกลจากรัศมีก็จะขาดการติดต่อได้ การใช้เครือข่ายแบบไร้สายนี้ สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์พีซี และโน๊ตบุ๊ก และต้องใช้การ์ดแลนแบบไร้สายมาติดตั้ง รวมถึงอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ซึ่งเป็นอุปกรณ์จ่ายสัญญาณสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย มีหน้าที่รับส่งข้อมูลกับการ์ดแลนแบบไร้สาย
อ้างอิง

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ซอฟต์แวร์



ซอฟต์แวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้นการดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งของซอฟต์แวร์ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฎชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคาสินค้า ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบทำงานได้ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตออร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้นการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์จะเริ่มขึ้นเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์พร้อมรับคำสั่ง โดยขึ้นตัวพร้อม (prompt)เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่ง DIR ซึ่งเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกที่ติดต่ออยู่ขณะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจแสดง นั่นหมายความว่า ผู้ใช้ได้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง DIR ซึ่งถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนแล้ว เมื่อเรียกคำสั่ง คอมพิวเตอร์จึงไปทำงานตามชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์นั่นเองชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์aซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้นการทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคาร ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือซอฟต์แวร์ควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อื่น ๆ ของคอมพิวเตอร์ให้ทำงานอย่างถูกต้อง ซอฟต์แวร์นี้เชื่อมอยู่ระหว่างซอฟต์แวร์ประยุกต์กับฮาร์ดแวร์ที่เป็นหน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยขับแผ่นบันทึก แผงแป้นอักขระและจอภาพ ในเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการนี้จะส่งงานผ่านไปยังโปรแกรมควบคุมการจัดการพื้นฐาน ซึ่งเป็นโปรแกรมย่อยขั้นพื้นฐานของการติดต่อไปยังฮาร์ดแวร์ของระบบอีกต่อหนึ่งการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งของโปรแกรมระบบปฏิบัติการให้ได้ในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นพื้นฐานขั้นต้นของการเรียกติดต่อกับคอมพิวเตอร์เช่น การขอดูรายการข้อมูลที่เก็บในแผ่นบันทึก การจัดรูปแบบแผ่นบันทึกเพื่อนำมาเก็บข้อมูล การสำเนาแฟ้มข้อมูล การลบแฟ้มข้อมูล และการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลใหม่ เป็นต้น การเรียนรู้ระบบปฏิบัติการได้ละเอียดลึกซึ้งมากก็ยิ่งจะช่วยให้สามารถเรียกติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานเพียงงานเดียวในเวลาหนึ่ง เช่น ซีพีเอ็ม เอ็มเอสดอส พีซีดอส แอปเปิ้ลดอส และระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกันเรียกว่าระบบหลายภารกิจ เช่น โอเอสทู วินโดวส์ ซีพีเอ็ม จัดเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ ที่นำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิต ซึ่งปัจจุบันนี้ล้าสมัยแล้วหลังจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ขยายมาเป็นเครื่องขนาด 16 บิต ก็ได้มีการเขียนระบบปฏิบัติการขึ้นใหม่ คือ เอ็มเอส พีซีดอส ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสนี้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับพีซี เอ็มเอสดอสเอ็มเอสดอส มีรากฐานมาจากระบบปฏิบัติการซีพีเอ็มนั่นเอง โดยการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้งานกับไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูลอินเทล ขนาด 16 บิต เบอร์ ขึ้นใหม่ที่ยังคงรูปแบบลักษณะคำสั่งคล้ายของเดิม เมื่อมีการปรับปรุงเพิ่มขยายในเวลาต่อมาเป็นรุ่น จึงได้มีการพัฒนาขีดความสามารถให้สูงขึ้นอีกมากมาย โดยในรุ่น นี้จะมีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายคลึงกับคำสั่งในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยเฉพาะด้านการจัดการข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ที่จัดเป็นโครงสร้างต้นไม้ของการแบ่งระบบแฟ้มเป็นระบบย่อยเอ็มเอสดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับงานงานเดียว แม้จะมีซอฟต์แวร์มาเสริมช่วยการใช้งานในลักษณะหน้าต่าง (window) ทำให้สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมกันแต่ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เพราะไม่ได้มีการออกแบบมาเพื่องานหลายชิ้นโดยเฉพาะ เมื่อขีดความสามารถของฮาร์ดแวร์สูงขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เหมาะสำหรับฮาร์ดแวร์จึงได้รับการพัฒนาเพื่อมาทดแทนเอ็มเอสดอส เช่น ระบบปฎิบัติการ โอเอสทู และวินโดวส์ ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ ระบบปฎิบัติการโอเอสทู และวินโดวส์ ถือเป็นระบบปฎิบัติการที่ออกแบบและสร้างมาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลพีเอสทูของบริษัทไอบีเอ็มจำกัดเป็นระบบปฎิบัติการที่นำมาชดเชยขีดจำกัดของเอ็มเอสดอสเดิม ด้วยการเพิ่มลักษณะพิเศษของการทำงานหลายงานพร้อมกัน เทคนิคการเรียกใช้คำสั่งเป็นเมนูและสัญรูป ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ เป็นระบบปฎิบัติการที่พัตนาและออกแบบสำหรับงานด้านวิชาการ และประยุกต์ใช้ทางด้านวิทยาศาสตร์ บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ แต่ในภายหลังก็ได้ปรับปรุงไปใช้บนเครื่องเกือบทุกระดับ รวมถึงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบใหญ่และซับซ้อน สามารถให้ผู้ใช้หลายรายทำงานหลายงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตามจะมีขีดจำกัดที่หน่วยความจำของระบบ เป็นระบบปฎิบัติการที่นิยมใช้เป็นเครือข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลร่วมกัน การนำเสนอข้อมูลตัวเลข โดยปกติจะอยู่ในรูปของตาราง เป็นแถวและสดมภ์ ซึ่งไม่ใช่วิธีการนำเสนอข้อมูลที่ดี เพราะการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางไม่ดึงดูดความสนใจ และตีความข้อมูลตัวเลขได้ลำบากไม่สมบูรณ์ การแปลงข้อมูลตัวเลขให้อยู่ในรูปภาพและแผนภูมิจะเป็นวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง เพราะการนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีนี้จะดึงดูดความสนใจสื่อความหมายได้กระจ่างชัด และเข้าใจง่ายในปัจจุบันนิยมนำข้อมูล มาเขียนเป็นแผนภูมิ หรือนำข้อมูลมาวิเคราะห์คำนวณตัวเลขทางสถิติ ได้ข้อมูลตัวเลขชุดใหม่ แล้วจึงค่อยนำมาสร้างเป็นแผนภูมิ ซึ่งแผนภูมิที่ได้นี้จะนำไปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อใช้วางแผนและตัดสินใจ หรืออาจใช้เพื่อนำเสนอบุคคลทั่วไป เพื่อการประชาสัมพันธ์ แผนภูมิทางธุรกิจเพื่อการนำเสนอมักมีการจัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพราะจะต้องให้เข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจต่อผู้พบเห็นนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่มีความรู้หรือทักษะในการเลือกชนิดและสร้างแผนภูมิเพื่อการนำเสนอ เพราะแผนภูมิทางธุรกิจมีหลายชนิด เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม กราฟเส้นตรง ฯลฯ แผนภูมิแต่ละชนิดก็เหมาะสำหรับการนำเสนอที่แตกต่างกัน การเลือกชนิดของแผนภูมิก็เป็นเรื่องสำคัญมากอันหนึ่งที่ชี้บอกข้อมูล ทางออกที่ดีของนักธุรกิจจึงเป็นการแจ้งความต้องการของตน แล้วมอบให้กับแผนกศิลป์ ช่วยเลือกชนิดแล้วสร้างแผนภูมิให้ ในกรณีนี้ค่าใช้จ่ายของการสร้างแผนภูมิจะค่อนข้างสูง และใช้เวลาค่อนข้างนานจึงจะเสร็จ ถึงแม้ว่าเสร็จเรียบร้อยแล้วก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและใช้เวลายาวนานขึ้นอีก ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกให้เลือกใช้มาก ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้จะเน้นการใช้งานที่ง่ายและสะดวก มีชนิดของแผนภูมิให้เลือกใช้หลายแบบตามความเหมาะสมของข้อมูล การจัดแต่งและการจัดรูปแผนภูมิใหม่สามารถทำได้ง่ายด้วยคำสั่งเพียง 1 หรือ 2 คำสั่ง นอกจากนี้ยังสามารถโอนย้ายข้อมูลจากซอฟต์แวร์สำเร็จอื่น เช่น จากระบบฐานข้อมูลและตารางทำงาน มาแสดงแผนภูมิได้ด้วยแผนภูมิที่ได้จากซอฟต์แวร์สำเร็จข้างต้นให้ผลของภาพชัดเจน และละเอียดดี ไม่แพ้ภาพของแผนกศิลป์ การสร้างปรับแต่งภาพ ก็สามารถทำได้รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถเก็บภาพที่ได้ใส่ไว้ในแผ่นบันทึกในรูปของแฟ้มข้อมูล และนำผลออกทางเครื่องพิมพ์ เครื่องวาดรูป หรือออกเป็นภาพสไลด์ก็ได้ การฝึกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จด้านกราฟิกจะเป็นการตัดบทบาทขั้นตอนของแผนกศิลป์ออกไป หน่วยงาน หรือบริษัทเล็ก ๆ ก็สามารถสร้างงานกราฟิกทางธุรกิจได้เป็นอย่างดีเป็นการประหยัดเงินและเวลาได้มากซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกแบ่งได้หลายประเภทของการใช้งาน เช่น ทางธุรกิจ ทางการออกแบบ ซอฟต์แวร์กราฟิกทางธุรกิจจะช่วยในงานด้านวิเคราะห์และเสนอข้อมูลในรูปของแผนภูมิโดยสามารถจัดแต่งรูปแผนภูมิเพื่อสวยงามและนำเสนอและจูงใจผู้ชมโดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์ด้านนี้จะสามารถสร้างแผนภูมิหลักที่สำคัญต่อไปนี้ได้ คือ แผนภูมิแท่ง แผนภูมิแท่งซ้อน แผนภูมิแท่งเหลื่อมทับ แผนภูมิวงกลม แผนภูมิวงกลมแยกส่วน กราฟเส้นตรง แผนภูมิกระจัดกระจาย แผนภูมิพื้นที่ และแผนภูมิสูงมนุษย์ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ต่างเรียกว่าภาษาธรรมชาติ เพระมีการศึกษาได้ยิน ได้ฟังกันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานทางคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษาสำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ภาษาประดิษฐ์ ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คือ อยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่จำกัด และมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็น ภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน กฎเกณฑ์ของภาษา จะขึ้นกับหลักไวยากรณ์ และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง ภาษาเครื่องภาษาเครื่อง เป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ โดยเขียนอยู่ในรูปของรหัสของระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร เช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรกการเขียนโปรแกรม หรือชุดคำสั่งด้วยภาษาเครื่อง นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่สะดวกและเสียเวลา เพราะผู้ใช้จะต้องทราบรหัสแทนการทำงานต่าง ๆ และต้องรู้ขั้นตอนการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเอียด ถ้าใช้คำสั่งไม่ถูกต้องเกิดการผิดพลาด โอกาสที่จะเข้าไปทำการแก้ไขก็ทำได้ยากและเสียเวลามาก มนุษย์จึงพยายามคิดภาษาให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างภาษาระดับต่ำในเวลาต่อมา ภาษาระดับต่ำหรือภาษาแอสเซมบลีภาษาระดับต่ำ หรือภาษาแอสเซมบลี ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น จะใช้คำสั่ง ADD แทนการบวก คำสั่ง SUB แทนการลบ เป็นต้น ขณะดียวกัน ส่วนที่ใช้บอกแหล่งข้อมูลก็จะแทนด้วยชุดของตัวอักษรที่เรียกว่าตัวแปร เช่น คำสั่ง ADD จะหมายถึงให้นำข้อมูลที่ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B มาบวกรวมกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ตำแหน่ง a เป็นต้นaaaaaเนื่องจากลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับรู้ หรือทำงานด้วยภาษาเครื่องที่เป็นเลขฐานสองเท่านั้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี จะต้องผ่านกระบวนการแปลเสียก่อน โดยแปลภาษาแอสแซมบลี ตัวแปลภาษาแอสแซมบลีนี้เรียกว่า แอสแซมเบลอร์ (assembler)การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี ถึงแม้ว่าจะง่ายและเสียเวลาน้อยกว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง แต่มีข้อเสียคือผู้ใช้จะต้องเรียนรู้โครงสร้างของระบบเครื่องนั้นอย่างละเอียด เพราะภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จะใช้กับเครื่องระบบนั้น ถ้าใช้เครื่องต่างระบบที่มีตัวประมวลผลต่างกัน จะต้องเรียนรู้โครงสร้างภายในและชุดคำสั่งสำหรับเครื่องนั้นใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่สะดวก

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ฮาร์ดแวร์





ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยแสดงผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังภาพ
ความหมายและความเป็นมา
เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่าคอมพิวเตอร์ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษจะหมาย ถึงเครื่องคำนวณดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้างๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้าต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้นลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัดคำนวณ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อนหรือเครื่องคิดเลขล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ ได้ ทั้งหมดในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจงหมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงาน คำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและ อัตโนมัติพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เสมือนสมอง กลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจ แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ แอนะล็อก คอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณแต่ จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทนไม้บรรทัดคำนวณอาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อก คอมพิวเตอร์ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนว ความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณโดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบ รวมกันการคำนวณผล เช่น การคูณจะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อก คอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกันโดยแรงดัน ไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัดแอนะล็อก คอมพิวเตอร์ จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำ หน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของ สมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษา การสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหวข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็น อุณหภูมิ ความเร็วหรือความดันอากาศซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้าเพื่อนำเข้าแอนะล็อก คอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน ไม่ค่อยพบเห็น แอนะล็อก คอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อยทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบันจัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมดดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลขมีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณแต่เป็นแบบลูกคิดโดยแต่และหลักของลูกคิดคือหลักหน่วย หลักร้อยและสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวันค่า ตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกันแต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียง สองตัวคือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้นโดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่าง กัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลข ฐานสองอยู่ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย
อ้างอิง

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ



1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกเป็นกลุ่ม เพื่อ เตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อเรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา
3. การสรุปผล บ่งครั้งข้อมูลที่จัดเก็บก็มีจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือการสร้างรายงานย่อเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปอาจสื่อความหมายได้กว่า 4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วยการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการดำเนินการและการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และการดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งานสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และจำเป็นสำหรับการใช้งานด้านต่าง ๆ นักเรียนอาจรวบรวมรายชื่อเพื่อน และเก็บข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเพื่อนของนักเรียนแล้วนำมาสรุปตามที่ต้องการ การจัดการสารสนเทศจึงรวมถึงขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นจนได้มาซึ่งสารสนเทศ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่ง สารสนเทศมีหลายขั้นตอน ดังนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูลสมมตินักเรียนต้องการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาชีพของคนไทยในหมู่บ้าน นักเรียนอาจเริ่มต้นด้วยการออกแบบสอบถามสำหรับการไปสำรวจข้อมูล เพื่อให้ครอบครัวต่างๆ ในหมู่บ้านกรอกข้อมูล มีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้กรอกข้อมูลเพื่อทำการกรอกรายละเอียดมีการเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บรวมรวมข้อมูลมีเทคนิคและวิธีการหลายอย่าง เช่นการใช้เครื่องจักรช่วยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตรวจกราดระหัสแท่ง หรืออ่านข้อมูลที่ใช้ดินสอดำฝนตำแหน่งที่กรอกข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลได้แล้ว จำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลดูแลเรื่องความถูกต้องของข้อมูล มีการตรวจทานหรือแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องข้อมูลที่จัดเก็บต้องมีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพราะหากข้อมูลไม่น่าเชื่อถือแล้ว สารสนเทศที่ได้จากข้อมูลก็ไม่น่าเชื่อถือด้วย
การรวบรวมข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูล การรวบรวมข้อมูลที่เก็บไว้ให้เป็นแฟ้มข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งการไปสำรวจข้อมูลไม่ว่าเรื่องอะไร ส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลมาหลายเรื่อง จำเป็นต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่มเป็นเรื่องไว้เป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
การจัดเรียงข้อมูล ข้อมูลที่เก็บไว้เป็นแฟ้มควรมีการจัดเรียงลำดับข้อมูลเพื่อสะดวกต่อการค้นหาหรืออ้างอิงในภายหลัง การจัดเรียงข้อมูลเป็นวิธีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศวิธีหนึ่ง การคำนวณ ข้อมูลที่จัดเก็บมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ข้อความ และตัวเลขดังนั้นอาจมีความจำเป็นในการคำนวณตัวเลขที่ได้มาจากข้อมูล เช่น หาค่าเฉลี่ย หาผลรวม การทำรายงาน การสรุปทำรายงานให้ตรงกับความต้องการของการใช้งานจะทำให้การใช้สารสนเทศมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นเพราะการทำรายงานเป็นวิธีการที่จะจัดรูปแบบข้อมูลให้เป็นสารสนเทศตามความต้องการ การจัดเก็บ ข้อมูลที่สำรวจหรือรวบรวมมา และมีการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศจะต้องดำเนินการจัดเก็บเอาไว้เพื่อใช้ในภายหลังการจัดเก็บ สมัยใหม่มักเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น แผ่นบันทึก การทำสำเนา หากต้องการใช้ข้อมูลก็สามารถคัดลอกหรือทำสำเนาขึ้นใหม่ได้การคัดลอกข้อมูลด้วยระบบทางคอมพิวเตอร์ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
การแจกจ่ายและการสื่อสารข้อมูล เมื่อต้องการแจกจ่ายข้อมูลให้ผู้อื่นใช้สามารถกระทำการแจกจ่ายได้โดยง่าย เทคโนโลยีสื่อสาร สมัยใหม่ทำให้จัดส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้นมีขนาดเล็กลง และราคาถูกลงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็วตลอดจนระบบสื่อสารก้าวหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลทำให้ระบบข้อมูลขององค์การที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการจะเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการ การวิเคราะห์นี้จะได้จาการสอบถามความต้องการซึ่งจะทำให้ทราบว่าควรจะจัดโครงสร้างข้อมูลนั้นไว้ในระบบหรือไม่ ถ้าจัดเก็บจะประกอบด้วยข้อมูลอะไร มีรายละเอียดอะไร ตอบสนองการใช้งานได้อย่างไรคำถามที่ใช้ในการสำรวจอาจประกอบด้วย 1. ข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้อยู่ขณะนี้ เช่น แบบฟอร์ม รายงานหรือเอกสาร ฯลฯ ดูโครงสร้างเอกสาร หรือข่าวสารตลอดจนการไหลเวียนของเอกสาร 2. ข้อมูลอะไรที่จะจัดทำขึ้นได้ในขณะนี้ ซึ่งได้แก่ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือสามารถจัดเก็บได้ 3. ข้อมูลอะไรที่ควรจะมีใช้เพิ่ม เพื่อให้ได้ระบบและเป็นคำตอบที่จะตอบสนองผู้ใช้ในระดับต่าง ๆ ได้ 4. ข้อมูลอะไรที่หน่วยงานหรือส่วนต่าง ๆ ขององค์การต้องการโดยดูจากคำถามที่หน่วยงานต่าง ๆ ถามมา 5. ข้อมูลมีความถี่ของการใช้และมีปริมาณเท่าไร ควรมีการตรวจสอบ 6. รูปแบบของการประมวลผล ควรมีการประมวลผลอะไร ให้ได้ผลลัพธ์อย่างไร 7. ใครรับผิดของข้อมูล ข้อมูลบางตัวจำเป็นต้องมีผู้ดูแล
อ้างอิง

วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer virus) หรือเรียกสั้นๆ ในวงการว่า ไวรัส คือ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์ ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
คำจำกัดความ
ไวรัสเป็นโปรแกรมประเภทที่สามารถแพร่ขยายตัวเองได้ วิธีการในการจำแนกว่าส่วนของโปรแกรมนั้นเป็นไวรัสหรือไม่ นั้นดูจากการที่โปรแกรมสามารถแพร่กระจายตัวได้โดยผ่านทางพาหะ (โฮสต์) บ่อยครั้งที่ผู้คนจะสับสนระหว่างไวรัสกับเวิร์ม เวิร์มนั้นจะมีลักษณะของการแพร่กระจายโดยไม่ต้องพึ่งพาหะ ส่วนไวรัสนั้นจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะนำพาไปเท่านั้น เช่น ทางเครือข่าย หรือทางแผ่นดิสก์ โดยไวรัสนั้นอาจฝังตัวอยู่กับแฟ้มข้อมูล และเครื่องคอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อมีการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลนั้น เนื่องจากไวรัสในปัจจุบันนี้ได้อาศัยบริการเครือข่ายบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล และระบบแฟ้มข้อมูลร่วมในการแพร่กระจายด้วย จึงทำให้ความแตกต่างของไวรัสและเวิร์มในปัจจุบันนั้นไม่ชัดเจน
ไวรัสสามารถติดพาหะได้หลายชนิด ที่พบบ่อยคือ แฟ้มข้อมูลที่สามารถปฏิบัติการได้ของซอฟต์แวร์ หรือส่วน
ระบบปฏิบัติการ ไวรัสยังสามารถติดไปกับบู๊ตเซคเตอร์ของแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ แฟ้มข้อมูลประเภทสคริปต์ ข้อมูลเอกสารที่มีสคริปต์มาโคร นอกเหนือจากการสอดแทรกรหัสไวรัสเข้าไปยังข้อมูลดั้งเดิมของพาหะแล้ว ไวรัสยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมในพาหะ และอาจทำการแก้ไขให้รหัสไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานเมื่อพาหะถูกเรียกใช้งานประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์
ประเภทของไวรัส
บูตไวรัส
บูตไวรัส (boot virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่ติดไฟล์โปรแกรม เช่นโปรแกรมที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต นามสกุล.exe โปรแกรมประเภทแชร์แวร์เป็นต้น มาโครไวรัส
มาโครไวรัส (macro virus) คือไวรัสที่ติดไฟล์เอกสารชนิดต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการใส่คำสั่งมาโครสำหรับทำงานอัตโนมัติในไฟล์เอกสารด้วย ตัวอย่างเอกสารที่สามารถติดไวรัสได้ เช่น ไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ด ไมโครซอฟท์เอ็กเซล เป็นต้น
โทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งสูงขึ้น
การป้องกันไวรัส
ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (anti-virus) อย่างไรก็ตามไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส โปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ การเตือนที่ผิดพลาดว่ามีไวรัสก่อให้เกิดความรำคาญพอๆกับตัวไวรัสเอง อย่าลืมว่าจะต้อง update โปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ๆ scan ทุกไฟล์บนดิสเกตต์และ CD-ROM ก่อน นำลง hard disk
scan ทุกไฟล์ที่ download มาจาก internet scan ไฟล์หรือโปรแกรมที่ติดมากับ e-mail ก่อนที่จะเปิดอ่านหรือเก็บลงบน hard disk เก็บเอกสารในรูปของ ASCII Text Mode หรือ Rich Text Format (RTF) โดยเฉพาะเอกสารที่ใช้ ร่วมกันบน network ทั้งสอง format จะไม่ save ส่วนที่เป็น macro ลงพร้อมกับเอกสารด้วยซึ่งทำให้ ปลอดภัยจาก macro viruses back up ข้อมูลและโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญอย่าเก็บ back up ไว้ใน hard disk อันเดียวกันกับข้อมูลและโปรแกรมจริง สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์ ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น สาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้ เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
อ้างอิง
(1)http://th.wikipedia.org/wiki/ไวรัสคอมพิวเตอร์
(2)http://www.stks.or.th/elearning/index.php?mod=Courses&op=showcontent&cid=73&qid=&lid=612&sid=&page=&uid=